การเลือกใช้สารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อโรค

Last updated: 23 เม.ย 2563  |  618 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การเลือกใช้สารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อโรค

"สารฆ่าเชื้อโรคคืออะไร"

สารฆ่าเชื้อที่นำมาใช้นั้น เรียกว่า "Disinfectant" เป็นสารที่ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลายรูปแบบ แต่มีความรุนแรงต่อผิวหนังของสิ่งมีชีวิต จึงเหมาะสำหรับใช้กับพื้นผิวบนสิ่งของต่าง ๆ เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ เป็นสารประกอบสำคัญที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่ใช้ในครัวเรือน นอกจากนั้นยังนิยมใช้ในสถานพยาบาลด้วย

ทั้งนี้ สารฆ่าเชื้อสามารถแบ่งตามประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็น 3 ระดับ คือ

1. สารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง (High level disinfectants)

เป็นกลุ่มที่มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อสูง สามารถฆ่าเชื้อได้ทุกชนิด ส่วนมากใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่สามารถนึ่งฆ่าเชื้อได้ เช่น formaldehyde, 30% hydrogen peroxide, chlorinated compounds

2. สารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพปานกลาง (Intermediate level disinfectants)

สารในกลุ่มนี้สามารถทำลายแบคทีเรียและไวรัสได้เกือบทุกชนิด นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล เช่น sodium hypochlorite, ethyl alcohol, isopropyl alcohol

3. สารฆ่าเชื้อประสิทธิภาพต่ำ (Low level disinfectants)

สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและเชื้อราได้บางชนิด เช่น 3% hydrogen peroxide

 

"สารแบบใดจึงสามารถฆ่าเชื้อไวรัสร้ายได้

เห็นชื่อสารเคมีมากมายแล้วอาจจะงง แต่จริง ๆ แล้วสำหรับการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อโรคในกรณีของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ทาง Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของสหรัฐอเมริกา และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้ใช้ ethyl alcohol (ethanol) ที่ความเข้มข้นอย่างน้อย 70% หรือ sodium hypochlorite เข้มข้น 0.5% ในการทำความสะอาดพื้นผิว ซึ่งอยู่ในกลุ่มของสารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพแบบปานกลาง สามารถใช้ได้ทั้งในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงสถานพยาบาลที่ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

ของในบ้านก็ฆ่าเชื้อไวรัสร้ายได้

สำหรับสารฆ่าเชื้อที่ใช้ตามบ้านเรือนและสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ มี 5 ชนิด ได้แก่ 1. Benzalkonium chloride 2. Chloroxylenol 3. Ethyl alcohol 4. Isopropyl alcohol และ 5. Sodium hypochlorite

โดยส่วนมากจะมีความเข้มข้นสูง ก่อนใช้งานต้องนำมาเจือจางด้วยน้ำ เพื่อให้มีความเข้มข้นในระดับที่สามารถฆ่าเชื้อได้ ซึ่งมีหลายยี่ห้อที่มีสารดังกล่าวและสามารถหาซื้อได้ง่ายในราคาหลักร้อย

 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้