Last updated: 22 Jul 2020 | 3547 Views |
ในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้น ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้น "ระบบพื้นไร้คาน หรือ Post-Tension Slab" ด้วยข้อได้เปรียบหลายๆ ประการที่ Post-Tension เหนือกว่า เมื่อเทียบกับการก่อสร้างด้ วยระบบหล่อในที่แบบทั่วไป (Conventional System) โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างของ อาคารที่เมื่อเปรียบเทียบกั นแบบหมัดต่อหมัดแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า Post-Tension เหนือกว่าอย่างชัดเจน
หากพูดแค่นี้อาจจะยังเห็นภาพไม่ชัดเจน เราลองมาดูภาพเปรียบเทียบกันแบบชัด ๆ ระหว่างระบบ Post-Tension กับระบบหล่อในที่ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ลดความสูงระหว่างชั้น
เนื่องจากพื้น Post-Tension ไม่มีคานเป็นส่วนรองรับ จึงช่วยลดความสูงระหว่างชั้ นของอาคารลงได้
อาคารดูกว้างขวางสวยงาม
เนื่องระบบ Post-Tension สามารถออกแบบอาคารที่มีระยะ ห่างระหว่างเสาได้มากกว่าระ บบหล่อในที่ ทำให้ภายในอาคารดูกว้างขวาง สวยงาม
สามารถจัดแบ่งพื้นที่ใช้งาน ได้อย่างอิสระ
เนื่องจากระบบ Post-Tension ไม่มีข้อจำกัดเรื่องคานและเสา ทำให้การเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมแนวกั้นผนังหรือกำแพงสามารถทำได้อย่างสะดวก
ช่วยให้โครงสร้างมีน้ำหนักน้อยลง
เนื่องจากความหนาของพื้น Post-tension ที่น้อยกว่าพื้นคอนกรีตเสริ มเหล็ก ทำให้มีน้ำหนักโดยรวมที่น้อยกว่า จึงสามารถลดค่าก่อสร้างของงานฐานรากลงได้
เพิ่มพื้นที่ใช้งานได้มากกว่า
เนื่องจากมีความสูงระหว่างช ั้นที่น้อยกว่า ระบบ Post-Tension จึงสามารถสร้างอาคารได้จำนวนชั้นที่มากกว่าระบบหล่อในที่ในระดับความสูงเท่ากัน
ก่อสร้างได้รวดเร็ว
ในการก่อสร้างแต่ละชั้นระบบ Post-Tension สามารถก่อสร้างได้รวดเร็วกว่า โดยระยะเวลาก่อสร้างต่อชั้น อยู่ที่ 7-10 วัน